งานประกวด ITFD FRESHMEN 2022

Posted Leave a commentPosted in กิจกรรม

Congratulations ITFD FRESHMEN  2022 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น โดยฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้จัดการประกวด ITFD FRESHMEN  2022 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อค้นหานักศึกษาที่สวย หล่อ และมีความสามารถเพื่อเข้ามาเป็นดาว เดือน ของคณะ ซึ่งปีนี้ ผู้เข้าประกวดทุกท่านได้แสดงความรู้ความสามารถในด้านต่างๆอย่างครบครัน ไม่ว่าจะนำองค์ความรู้ในด้านการเรียนมาทำเป็นชุดเข้าประกวด การตอบคำถามเกี่ยวกับคณะฯ และการแสดงความสามารถส่วนตัว ต่อหน้าคณะกรรมการอย่างหน้าทึ่ง ซึ่งมีผลสรุปการเข้าประกวดดังนี้ MISTER FRESHMEN ITFD 2022 – the winner B07 นรพนธ์ ไชยราช – 1 st running up B02 จิตรทวัส ยุวงษ์สระน้อย – 2 nd running up […]

พิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565

Posted Leave a commentPosted in กิจกรรม

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ได้จัดโครงการพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคาร 2 โดยมี ดร.มธุรส เวียงสีมา คณบดีคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ผู้แทนนักศึกษา กล่าวคำสวดมนต์ กล่าวนำไหว้ครู นายกสโมสรนักศึกษากล่าวนำปฏิญาณตน ผู้แทนนักศึกษานำพานดอกไม้ธูปเทียนไหว้ครู ประธานเจิมตำราเรียน และมีพิธีมอบเกียรติบัตรแก่นักศึกษาผู้มีผลการเรียนดีเด่น พิธีมอบทุนการศึกษาจากผู้ใหญ่ใจดี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาส จากนั้นเป็นพิธีแห่ขบวนรำอวยพรเชิญบายศรีและพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยท่านอาจารย์ชัยธวัช ตุ่มมะ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเป็นสิริมงคลให้แก่นักศึกษาและผู้ที่เข้าในร่วมพิธี

โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสิ่งทอเพื่อตอบสนองยุคดิจิทัล ต.เจ็ดเสมียน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

Posted Leave a commentPosted in กิจกรรม

คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้จัดกิจกรรมโครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสิ่งทอเพื่อตอบสนองยุคดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม 2565 ณ ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยนักศึกษาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่บ้านเจ็ดเสมียน จากท่านนายกเทศมนตรีฯ พร้อมปราชญ์ชุมชน ทำให้นักศึกษาได้มีความรู้ถึงประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบริบทของชุมชน อีกทั้งนักศึกษาได้เรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่น มาสร้างสรรค์โดยการนำศาสตร์ด้านสิ่งทอ เข้ามาสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน จากคุณ ธนกร สดใส เจ้าของแบรนด์ TANEE SIAM โดยท่านวิทยากรได้ให้ความรู้ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักศึกษาและอาจารย์ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งตกผลึกออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่จะผลิตในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้แล้วนักศึกษายังได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจาก อาทิเช่นการร่ายรำ ผ่านท่วงท่าที่สื่อความหมายต่างๆ พร้อมชมการแสดงศิลป์ในสวนจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านงานศิลป์ มาถ่ายทอดงานศิลป์ในด้านต่างๆ ให้นักศึกษาได้ชม ณ สวนศิลป์บ้านดิน จังหวัดราชบุรี

คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้นำผลงานจากงานวิจัยเข้าร่วมจัดแสดงแฟชั่นโชว์และเดินแฟชั่นโชว์ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2565

Posted Leave a commentPosted in กิจกรรม

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นำผลงานวิจัยเข้าร่วมแสดงแฟชั่นโชว์ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2565 (Welcom Reception : Thailand Research Expo 2022) โดยเป็นผลงานที่ได้รับการต่อยอดจากนวัตกรรมเครื่องม้วนเส้นยืน ซึ่งเป็นงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ อริยะเครือ และผลงานเครื่องประดับจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในชุด“นวัตกรรมเสกสรรอัญมณีร้อยรัก…ถักทอเส้นใยธรรมชาติจากเศรษฐกิจชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์สากล” พร้อมทีมงาน ดร.จรัสพิมพ์ วังเย็น อาจารย์สุดากาญจน์ แยบดี อาจารย์ไอรดา สุดสังข์ นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ และศิษย์เก่า เข้าร่วมจัดแสดงแฟชั่นโชว์และเดินแฟชั่นโชว์ในงานดังกล่าว ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ถ่ายทอดเทคโนโลยี การฟอก ย้อม พิมพ์ การออกแบบ และการสร้างผลิตภัณฑ์ฝ้ายทอมือสู่เชิงพาณิชย์

Posted Leave a commentPosted in กิจกรรม

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผศ.ดร.รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และทีมงาน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงพื้นที่ให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี การฟอก ย้อม พิมพ์ การออกแบบ และการสร้างผลิตภัณฑ์ฝ้ายทอมือสู่เชิงพาณิชย์ โดยรังสรรค์​ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย​ ผ้าย้อมครามที่เป็น​อัตลักษณ์​ของ​จังหวัด​ภาคอีสาน​ และเป็นแหล่งผลิตผ้าไหม​ ผ้าฝ้าย​ ผ้าย้อมคราม ​ก่อให้เกิดการแปรรูป​ผลิตภัณฑ์​ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีครามจากธรรมชาติ​ อาทิเช่น​ ผ้าพันคอ​จากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีคราม​ ผลิตภัณฑ์​กระเป๋า​ผ้าฝ้าย​ย้อมสีพิมพ์​สีจากใบมังคุ​ด​ และผลิตภัณฑ์​หมวกบักเก็ต​จากผ้าฝ้ายทอมือ มีการผสมผสาน​วัฒนธรรม​ต่างชาติ​ ทำให้ผ้าทอมือของไทยมีรูป​แบบและลวดลาย​ที่มีความเป็​นสากลและเป็​นที่นิยมในต่างประเทศ​ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามหลักปรัชญา​เศรษฐกิจพอเพียง​ ยกระดับ​คุณภาพผ้าฝ้าย​ทอมือ​ หมู่บ้าน​ท่องเที่ยว​เชิง​วัฒนธรรม​วิถีลุ่มน้ำ​โขง​ ชี​ มูล​ ได้อย่างยั่งยืน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหมือดแอ่ อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนให้วิสาหกิจชุมชนซึ่งผลิตสิ่งทอพื้นเมืองที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ผ้าทออีสาน เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น โดยนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุน